แนวทางการทำอันดับเว็บ ตอนที่ #2 Part 2/3 (Google Rich Snippets)

ก่อนเริ่มบทความนี้ ผมเองต้องขออภัยทุกท่านหากผมเขียนบทความแต่ละตอนช้ามาก….. นะครับ เนื่องจากภารกิจงานหลัก และงานรองหลายอย่างติดกันเลย จึงเขียนบทความไม่เสร็จสิ้นสักทีครับ พอได้หยุดพัก จึงเริ่มมีเวลาเขียนเนื้อหาต่อจากเดิมบ้างครับ

12512633_10153946847473280_8285010512416160490_n

เข้าเรื่องกันเลยแล้วกันครับ อย่างที่ผมได้เกริ่นเอาไว้ใน ตอนที่ #2 Part 1/3 เอาไว้ก่อนหน้านั้นว่าในหัวข้อนี้ เราจะมาเขียนอธิบายเกี่ยวกับ 3 หัวข้อหลัก คร่าวๆ ที่น่าจะนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนี้

  1. Google Rich Snippets – หัวข้อที่หลายคนสนใจและถามกันเข้ามามากพอสมควร
  2. W3 Total Cached Plugins – ปลั๊กอินที่ผมใช้บ่อยและเป็นส่วนหนึ่ง (ขั้นต้น) ในการปรับ Page Speed
  3. Google Webmaster Tools – ในหัวข้อเกี่ยวกับการเรียกบอทมาเก็บข้อมูล (จริงๆ ส่วนนี้ก็ไม่น่าเกี่ยวกับ Onpage เท่าไหร่ครับ ผมจะเขียนไว้ท้ายสุดแล้วกันครับ)

ทั้ง 3 หัวข้อนี้คิดว่าบางท่านอ่านเคยได้ศึกษากันมาบ้างหรือรู้กันบ้างแล้วว่าคืออะไรและทำงานอย่างไรบ้าง ก็ข้ามเนื้อหาในตอนนี้กันได้เลยนะครับ หรือมีเพิ่มเติมก็แนะนำกันเข้ามาได้เลย 😉

Google Rich Snippets (Structured Data)

เนื้อหาในหัวข้อนี้หากผมเองเขียนลงลึกหรืออธิบายยืดยาว คิดว่าท่านที่เพิ่งเริ่มต้นหรือลองทำต้อง “งง” อย่างแน่นอนครับ ดังนั้นผมจะขอหยิบยกตัวอย่าง ที่น่าจะพบกันบ่อยมาให้พอเห็นภาพ และนำไปใช้กันได้แล้วกันนะครับ


ในความเป็นจริงแล้วเจ้า Google Rich Snippets นั้นไม่ใช่อะไรที่ใหม่เลยแต่อย่างใด ซึ่งให้เข้าใจแบบ (น่าจะ) เห็นภาพด้วยใจความที่กระชับขึ้น ไม่ต้องศัพท์เทคนิคมากผมขอนิยามมันด้วยคำว่า “ข้อมูลเชิงโครงสร้าง” แล้วกันครับ

recipe2

อธิบายแบบเปรียบเปรยง่ายๆ ก็คือว่า ไอเว็บทั่วไปเนี่ย Google หรือ Search Engine มันจะเข้ามาเก็บข้อมูลเว็บเราไป จากนั้นมันจะวิเคราะห์เว็บเราด้วย Algorithm ที่ต่างกันไป เพื่อให้ได้ซึ่งข้อสรุปของเว็บไม่ว่าจะเป้นเนื้อหาและโครงสร้างในตำแหน่งข้อมูลต่างบนเว็บเรานั้นเอง

ตัวอย่างอย่างเช่นวิเคราะห์เว็บของเราว่าว่า…………

  • เว็บเราน่าจะเกี่ยวกับอะไร
  • มีข้อความใดซึ่งเป็นที่อยู่ และอยู่ส่วนไหนของเว็บบ้าง
  • เบอร์ติดต่อมีไหม
  • ใครเขียน
  • เผยแพร่โดยใคร
  • เผยแพร่เมื่อไหร่
  • เนื้อหามีลิขสิทธิ์โดยใครไหม
  • ใครเป็นผู้เผยแพร่
  • มีคนรีวิวหรือแสดงความคิดเห็นไหม
  • ร้านเปิดปิดกี่โมง (นึกภาพง่ายๆ แบบเพจบนเฟสบุ๊คเป๊ะ)
  • ราคาสินค้าหรือบริการ
  • โปรโมชั่น
  • ประเภทของเว็บ  ข่าว / บทความ / สินค้า / ซอฟแวร์ / ที่พัก / ร้านอาหาร ฯลฯ

และอีกมากมาย !!! (ทั้งหมดนี้บอกเล่าจากประสบการณ์นะครับ ว่ามันวิเคราะห์ละเอียดจริงๆ ถูกผิดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ แต่ที่เจอก็ประมารนี้เลย) จนกระทั่งมีการนำข้อมูลเชิงโครงสร้างที่กล่าวถึงก่อนหน้ามาใช้กันนั้นเอง ข้อดีของข้อมูลเชิงโครงสร้างก็คือ เข้ามาแล้วเข้าใจ – ข้อมูลเชิงโครงสร้างนั้นเป็นตัวที่ถูกทำมาหรือเรียกได้ว่าออกแบบมาเพื่อให้ Bots นั้นเข้าใจเว็บของเราได้ทันที

มาดูกันต่อเลยว่า Schema (Google Rich Snippets) ที่แนะนำมีอะไรบ้าง ?

1.) Coperate Contacts & Social Profiles

เว็บไซต์ประเภทบริษัท / หน่วยงาน / องค์กร หรือแบรนด์ต่างๆ ไม่ควรพลาด!! ตัวนี้เลยครับ ทุกคนที่ใช้ Google ต้องคุ้นเคยแน่นอน เมื่อเราค้นหาข้อมูลบริษัทหรือแบรนด์ดังๆ จะขึ้นรูปแบบพิเศษดังตัวอย่างภาพด้านล่างนี้

นั้นละครับ หากใครที่อยากให้ขึ้นบ้างก็ใช้ตัวนี้เลย !!
รายละเอียดเพิ่มเติม: https://developers.google.com/structured-data/customize/social-profiles

รับรองว่าโดดเด่น !! กว่าคู่แข่งอื่นที่ชื่อใกล้เคียงกัแน่นอน !! หรือเอาไปประยุกต์ใช้กับคีย์เวิร์ดที่ทำอันดับอยู่ก็ได้นะ เด่นชัดแบบขาดลอยยิ่งกว่า Adwords ซะอีก ++++++ O_O

rs-nest-contacts

socialprofiles

 

 

2.) Rich Snippets for Products / Events / Software & Apps / Articles etc…..

ตัวนี้ถือว่าเป็นพระเอกของงาน และถูกนำไปใช้บ่อยมาก นั้นก็คือส่วนที่เรียกว่า Rating & Reviews ซึ่งหากใครที่ท่องเที่ยวหรือซื้อของจากเว็บต่างประเทศ ก็จะพบบ่อยมาก ในการทำเว็บด้วย Rich Snippets ในรูปแบบดังกล่าวนี้

โดยในส่วนนี้มันเด็ด !! ก็ตรงที่ เราไม่จำเป็นต้องมีคนมารีวิวจริง แต่สามารถใส่ข้อมูลเพื่อให้มีรูปแบบหรือผลการค้นหาที่โดดเด่นกว่าคู่แข่งได้ และแน่นอนว่ามันเป็นส่วนช่วยในการตัดสินใจให้คนเข้าเว็บเราได้ง่ายยิ่งขึ้นนั้นเอง

ไปดูภาพตัวอย่างกันเลย…

2.1 ) แบบมีภาพประกอบพร้อมรีวิวและคะแนน
รายละเอียดเพิ่มเติม:

recipe2

 

2.2 ) แบบมีคะแนนและมีระบุว่าถูกรีวิวโดยใคร

review

 

2.3 ) สำหรับเว็บข่าวหรือบทความที่มีการอัพเดทถี่มาก… . . .

rs-articles-content-carousels

 

2.4) for Apps แบบนี้เหมาะสำหรับคนทำ Apps หรือเว็บดาวน์โหลดโปรแกรมสุดๆ !!

rsmobileapps

 

2.5) for Video เว็บแนววีดีโอและคลิปต่างๆ ไม่ควรพลาดตัวนี้เลย

rs-videos-stream-daily-show

3.) Places Action & Local Business

places-lu

ข้อนี้เหมาะกับกลุ่มธุรกิจประเภทที่พักและรีสอร์ทมากครับ เพราะเวลาใครค้นหาที่พักเราแล้วมันก็จะขึ้นแผนที่ให้เลย  ซึ่งปกติหากเราไม่ใส่มันก็จะวิเคราะห์จากการเช็คอิน / ความสัมพันธ์ของเว็บกับที่อยู่ ที่ระบุไว้บนเว็บ หรือดึงจาก Google Business และ Google Plus อย่างใดอย่างหนึ่ง ที่มันคิดว่าน่าจะใช่ที่สุด  แต่มันช้า !!  เราจึงใช้วิธีนี้จึงน่าจะเห็นผลได้เร็วที่สุดครับ

 

 

 

 

4. )  Breadcrumb / Site Navigation

ความจริงตัวนี้ก็มีมานานแล้วนะครับ (ดังภาพตัวอย่างด้านล่าง) ซึ่งปกติแล้วเนี่ยก็อย่างที่ผมบอกเลย มันจะใช้เวลาในการวิเคราะห์เว็บเราในระยะเวลาที่ไม่อาจมีใครตอบได้ว่าเมื่อไหร่ !! มันจะขึ้นดังใจเรา

ดังนั้นหากเรามีการใช้ “ข้อมูลเชิงโครงสร้าง” และเราใช้มันอย่างถูกต้องแล้วนั้น มันก็จะขึ้นให้ดังใจเรา อย่างเช่นตัวอย่างด้านล่างนี้เลยครับ

แต่เว็บไหนที่ไม่ได้ใส่ ก็ไม่ใช่ไม่มีโอกาสขึ้นนะครับ มีครับ แต่ต้องรอ !! (เมื่อไหร่ก็ไม่มีใครตอบได้)

breadcrumb

 

5.) Sitelinks Search Box

ตัวนี้เว็บดังๆ จะฮิตมากครับ

pinterestDesktop

เว็บในไทยที่เห็นชัดๆ เลยก็ Mthai ก็เลือกใช้ครับ

mthai

*** เขียนมาได้ระยะหนึ่ง เริ่มรู้สึกว่าเนื้อหายาวมากกกกเลย ***

long-article

 

ผมอ่านบทความตัวเองแบบทวนนนนนนนนซ้ำ… อยู่หลายรอบ ก็ยังรู้สึกว่ายังให้ข้อมูลได้ไม่ละเอียดมากเท่าไหร่ แต่ก็กลัวว่าเนื้อหาเยอะแล้วผู้เริ่มทำจะงงจนตามไม่ทันกันเหมือนกันครับ

…เอายังไงดี…

2001hyamyasothorn08+

…แสดงความคิดเห็นกันมาได้นะครับ…

หัวข้อไหน งง และไม่เข้าใจ  แสดงความคิดเห็นไว้ด้านล่างนะครับ เดี๋ยวผมจะเข้ามาติดตามและอัพเดทให้เรื่อยๆ และแจ้งการอัพเดทผ่าน Comments ตอบให้ทุกท่าน เลยแล้วกันครับ

cibbej6bfd9a6cg8bk678

เนื้อหายังไม่จบ !! อย่างเพิ่งรีบปิดกันนะะะะะ. .. .

ถ้าผมเขียนแล้วจบตรงบรรทัดนี้เลย ก็อาจดูตัดบทเกินไปหน่อย เอาเป็นว่าผมจะยกตัวอย่างวิธีใช้ จากเว็บ CreationCz.com ที่ผมใช้แข่งในครั้งนี้ให้แล้วกันครับ ว่าแต่ละอันผมใส่อย่างไรบ้าง เพื่อจะได้เห็นภาพแล้วลองนำไปใช้กันได้ง่ายขึ้น

snippet-contest

ตัวที่ผมใช้ประกอบด้วยข้อมูลเชิงโครงสร้างดังนี้…

snippet

ใครตามไม่ทันและไม่รู้ว่ามันมายังไง ให้ไปที่ :
https://developers.google.com/structured-data/testing-tool/

จากนั้นก็กดใส่ URL ของเว็บผมนั้นคือ :
https://creationcz.com/lyrics/เพลงชาติไทย/

ก็จะเจอผลลัพธ์สรุปดังภาพด้านบน

*** และนี่คือตัวอย่าง Code คำสั่งที่ผมใส่ ***

———– ส่วนที่ระบุแบบ Article ในรูปแบบ Web Page ———–

<script type=”application/ld+json”>
// <![CDATA[
{
“@context“: “http://schema.org”,
“@type“: “Article”,
“mainEntityOfPage”: {
“@type“: “WebPage”,
“@id“: “https://creationcz.com/lyrics/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/”
},
headline“: “เพลงชาติไทย”,
datePublished“: “2016-03-01”,
dateModified“: “2016-03-31”,
image“: {
“@type“: “ImageObject”,
url“: “https://creationcz.com/wp-content/uploads/2016/02/thaianthemflag.png”,
height“: 800,
width“: 800
},
author“: {
“@type“: “Person”,
name“: “CreationCz.com”
},
publisher“: {
“@type“: “Organization”,
name“: “CreationCz (Thailand)”,
logo“: {
“@type“: “ImageObject”,
url“: “https://creationcz.com/wp-content/uploads/2010/06/creationcz.png”
}
},
description“: “เพลงชาติไทย ข้อมูลเพลงชาติไทยและประวัติเพลงชาติไทย บทประพันธ์เพลงชาติโดยหลวงสารานุประพันธ์ ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ และเนื้อเพลงชาติไทย (ฉบับปัจจุบัน)”
}
// ]]>
</script>

 

T270612_06C

 

———– ส่วนที่ระบุแบบ News Article ———–
<script type=”application/ld+json”>
// <![CDATA[
{
“@context”: “http://schema.org”,
“@type”: “NewsArticle”,
“mainEntityOfPage”: {
“@type”: “WebPage”,
“@id”: “https://creationcz.com/lyrics/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/”
},
headline“: “เพลงชาติไทย”,
datePublished“: “2016-03-01”,
dateModified“: “2016-03-31”,
image“: {
“@type“: “ImageObject”,
url“: “https://creationcz.com/wp-content/uploads/2016/02/thaianthemflag.png”,
height“: 800,
width“: 800
},
“author”: {
“@type“: “Person”,
name“: “CreationCz.com”
},
“publisher”: {
“@type“: “Organization”,
name“: “CreationCz (Thailand)”,
logo“: {
“@type“: “ImageObject”,
url“: “https://creationcz.com/wp-content/uploads/2010/06/creationcz.png”
}
},
description“: “เพลงชาติไทย ข้อมูลเพลงชาติไทยและประวัติเพลงชาติไทย บทประพันธ์เพลงชาติโดยหลวงสารานุประพันธ์ ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ และเนื้อเพลงชาติไทย (ฉบับปัจจุบัน)”
}
// ]]>
</script>

 

 

———– ส่วนที่ระบุแบบ Video ———–
<script type=”application/ld+json”>
// <![CDATA[
{
“@context“: “http://schema.org”,
“@type“: “VideoObject”,
name“: “เพลงชาติไทย”,
description“: “วีดีโอเพลงชาติไทย (ฉบับเต็ม) ความยาวว 2 นาที เพลงชาติไทย ข้อมูลประวัติเพลงชาติไทย บทประพันธ์โดยหลวงสารานุประพันธ์ ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ ฉบับปัจจุบันที่ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. 2482 และเนื้อเพลงชาติไทย”,
thumbnailUrl“: “https://creationcz.com/wp-content/uploads/2016/02/flag-thai-anthem.jpg”,
uploadDate“: “2016-02-15”,
duration“: “PT2M07S”,
contentUrl“: “https://www.youtube.com/watch?v=QTUCCEr0p54”,
embedUrl“: “https://www.youtube.com/embed/QTUCCEr0p54”,
interactionCount“: “10274”
}
// ]]>
</script>

 

 

———– ส่วนที่ระบุแบบ Organization (พวก Social Links & Profiles) ———–
<script type=”application/ld+json”>
// <![CDATA[
{
“@context“: “https://schema.org”,
“@type“: “Organization”,
name“: “เพลงชาติไทย”,
url“: “https://creationcz.com/lyrics/%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%8A%E0%B8%B2%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2/”,
logo“: “https://creationcz.com/wp-content/uploads/2010/06/creationcz.png”,
sameAs“: [“https://www.facebook.com/ThailandMusicNational”, “https://www.twitter.com/anurakpj”, “https://plus.google.com/+CreationczThailand”]
}
// ]]>
</script>

 

 

———– ส่วนที่ระบุแบบ Webpage ———–

********* ที่มีดาวขึ้นเพราะหัวข้อนี้แหละครับ ***********

<script type=”application/ld+json”>
// <![CDATA[
{
“@context“: “http://schema.org/”,
“@type“: “WebPage”,
name“: “เพลงชาติไทย”,
description“: “เพลงชาติไทย ข้อมูลเพลงชาติไทยและประวัติเพลงชาติไทย บทประพันธ์เพลงชาติโดยหลวงสารานุประพันธ์ ทำนองโดยพระเจนดุริยางค์ และเนื้อเพลงชาติไทย (ฉบับปัจจุบัน)”,
aggregateRating“: {
“@type“: “AggregateRating”,
ratingValue“: “5”,
bestRating“: “5”,
worstRating“: “1”,
ratingCount“: “89168”
}
}
// ]]>
</script>

ตัวอย่าง Coding ด้านบนนี้ ในความจริงแล้วสามารถนำไปใช้ได้เลยนะครับ  วิธีแก้ไขหรือประยุกต์ก็ไม่ยากเลยครับ  แก้พวกวันที่หรือข้อความไทยต่างๆ ให้เป็นของเว็บผู้อ่านเองก็เรียบร้อยครับ รวมถึง Rating ก็เอาไปปลอมๆ เนียนๆ กันได้เลยครับง่ายมาก

headache

วิธีใช้หากเป็น WordPress หรือบนเครื่องมือช่วยเขียนก็กดปุ่มในโหมด Source Code / HTML แล้วก็อปไปไว้ล่างสุดของบทความ ก็เรียบร้อยครับ

****** วิธีในการเลือกใช้รูปแบบอื่น *******

google-rich-snippets_1_1

ไปที่เว็บนี้เลยครับ (ของ Google โดยตรง) :
https://developers.google.com/structured-data/

ด้านซ้ายมือจะมีหัวข้อให้เลือก (ความจริงเนื้อหาหลายส่วนผมก็นำมาจากเว็บกู้เกิ่ลนี่ละครับมาเขียนประกอบกันไป)  ** ในแต่ละหัวข้อ จะมีตัวอย่าง Code เหมือนที่ผมนำมาให้ดูครับ **

ซึ่งเรียกว่า : JSON-LD

แต่มันก็จะมีให้เลือกเยอะไปหมดเช่น MICRO DATA  และ RDFA

….ไม่ต้องไปสนใจมันครับ….

1798532_624329110956220_995198622_n

จำง่ายๆ แค่ว่าโค้ดคำสั่งแบบ JSON-LD คนไม่เห็น บอทเห็น (ซ่อนไว้ไม่ให้รกเว็บ) แต่อันอื่นคนเห็นและบอทเห็นบนหน้าเว็บเลย  แค่นั้นก็พอครับ เพราะท่านที่ไม่ชำนาญโค้ดจะงง จำคร่าวๆ เท่านั้นก็พอครับ


สุดท้ายของบทความ ตอนที่ #2 Part 2/3 นี่ ผมเองก็ไม่ได้เขียนเรื่อง Google Webmaster Tools ในส่วนของการจุดธูปเรียกบอท และ W3 Total Cached แต่ 2 หัวข้อที่เหลือนี้ ไม่เยอะมากครับ แต่กลัวรวมแล้วจะจะยิ่งยาวและผู้ที่เพิ่งเริ่มต้นยิ่ง งง  ภาษาหนังจีนก็เรียกกันว่า… “ธาตุไฟเข้าแทรก

1413866509-image-o


ก่อนถึงตอนถัดไปหรือ ตอนที่ #3 Part 3/3 ผมจะทำเป็นตอนพิเศษสำหรับ Google Webmasters Tools และ W3 Total Cached หรือคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องให้นะครับ (ปลั๊กอินอื่นๆ เกี่ยวกับ Cached จะใช้ศัพท์คล้ายกันครับ) คิดว่าคงเป็นประโยชน์ไม่มากก็น้อยครับ


ans-75242020758-2

แสดงความคิดเห็นกันมาได้นะครับ ขอตัวหนีไปเขียนตอนที่ #2 Part 3/3 และตอนพิเศษก่อนนะครับ ไปละ
(ขอบคุณทุกท่านที่อ่านและติดตามกันนะครับ หากผิดพลาดประการใด ผมต้องขออภัย ณ ที่นี้ด้วยนะครับ แนะนำหรือติชมกันเข้ามาได้ทุกเมื่อนะครับทาง: https://www.facebook.com/ChiVasCz)

ChiVas Cz 🙂

Comments

comments